จับตามอง 10 เทคโนโลยี สร้างเศรษฐกิจชาติ ผลงานนักวิจัยที่น่าลงทุน



     ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในการจัดงาน น้าสด้า อินเตอร์เดย์  ในงาน  Thailand Tech Show 2017 ที่สวทช. จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “อินโนฟิวชั่น: เสริมพลังธุรกิจด้วยวิทย์และนวัตกรรม เพื่อถ่ายทอดความรู้และต่อยอดนวัตกรรมให้กับนักลงทุนเป้าหมายและผู้ประกอบการไทย ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.)พัฒนากระบวนการผลิตให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

      กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญและบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสังคมด้วยปัญญาความรู้และนวัตกรรม สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในภาคเกษตรอุตสาหกรรมและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ

      ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีแห่งชาติกล่าวว่า สวทช.และเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในการขับเคลื่อนต่อยอดผลงานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากหิ้งสู่ห้าง โดยผลักดันการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เสริมสร้างศักยภาพยกระดับผู้ประกอบการและนักลงทุน เชื่อมโยงเอกชนเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก   ยังเป็นการพัฒนาบุคลากรและนักวิจัยระดับแนวหน้าของประเทศให้สามารถสร้างงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเอกชนและชุมชน ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคม

ทั้งนี้กิจกรรมนี้จัดขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 8 โดยปีที่ผ่านมานักลงทุนและผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 800 คน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ 14 ผลงานร่วมโหวตรางวัลผลงานที่น่าลงทุนที่สุดและรางวัลที่นำเสนอผลงานดีที่สุด เพื่อเป็นกำลังใจ ให้กับนักวิจัยในการคิดค้นนวัตกรรม และนำไปต่อยอดในเชิงธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ตามความต้องการของตลาด ขับเคลื่อนธุรกิจเทคโนโลยีพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมยกระดับประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติ

สำหรับ 10 เทคโนโลยีเปลี่ยนธุรกิจ-วิถีชีวิต

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ส่งผลในช่วง 5 ถึง 10 ปีในอนาคต

1. สารเสริมสุขภาพเนรมิตได้ ปัจจุบันสามารถนำพืชผักผลไม้ มาสกัดเอาสารสกัดและทำให้อยู่ในรูปลักษณะที่ชวนบริโภคไม่ว่าจะเป็นแคปซูลผงแท่งหรือละลายน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่มีสารมีประโยชน์จากพืชออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี เรียกว่า Phytonutrients หรือ  Phytochemicals  จัดในอยู่ในกลุ่มอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ Functional Food

2. เนื้อสัตว์ไม่ต้องฆ่าสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการมาทำเป็นแฮมเบอร์เกอร์แนวคิดการผลิตสัตว์ จากเซลล์ โดยใช้เทคโนโลยี Cell Culture เทคโนโลยีนี้มีข้อดีคือช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้ราว 14.5 เปอร์เซ็นต์

3. จุลินทรีย์ผลิตสารมูลค่าสูงจากอากาศ นักวิจัย University of Minnesota แบคทีเรีย 2 ชนิด คือ  ซินนีโคค็อคคัส ที่สังเคราะห์แสง โดยตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล ก่อนส่งต่อให้แบคทีเรีย ชีวาเนลล่า เปลี่ยนให้เป็นกรดไขมันซึ่งนำไปใช้ผลิต “คีโตน”วัตถุดิบ ตั้งต้นสำคัญของสารประกอบอินทรีย์อื่นๆและน้ำมันดีเซลได้

4. บรรจุภัณฑ์กินได้ ผลิตจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อใช้ห่อหุ้มอาหารไม่ให้เกิดความเสียหายยืดอายุ รักษาคุณภาพของอาหารให้เก็บไว้ได้นาน

5. ถุงปลูกเพื่อผลผลิต นอนวูฟเวนส์ หรือถ้าไม่ถักไม่ทอ พบได้แพร่หลายคือหน้ากากอนามัยเนื้อวัสดุมีลักษณะคล้ายกระดาษแต่ให้สัมผัสนุ่มคล้ายภาพผลิตภัณฑ์นี้อาศัยการขึ้นรูปจากเส้นใยโดยตรง นำ เทคโนโลยี วัสดุมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจึงมีความสำคัญมาก

6. หุ่นยนต์หมอนาโน ตัวยาที่ใช้รักษามะเร็งขาดความจำเพาะจึงทำลายเซลล์มะเร็งเข้าเป้าหมายได้แค่ 1-2 % ซึ่งที่เหลือทำลายเซลล์ดี ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมา มีทีมวิจัยที่ศึกษาการนำทีเซลส์ มาใช้ Nanorobot นำส่งยาที่ใช้ฆ่าเซลล์มะเร็งได้อย่างจำเพาะหรืออาจใช้นำส่งอนุภาพนาโนบางอย่างที่กระตุ้นด้วยรังสี จะทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติ

7. เข็มจิ๋วจิ้มไม่เจ็บ เป็นเข็มขนาดเล็กมากๆที่เรียกว่าMicro/Nano Nano Needlesหรือ MNN มีเส้นผ่านศูนย์กลางระดับไมโครและนาโนเมตรคือราวหนึ่งในล้านและหนึ่งในพันล้านส่วนของเมตรเท่านั้น

8. บล็อกเชนเพื่อสุขภาพ เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลธุรกรรมที่ทำให้ ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถเก็บข้อมูลและใช้การเข้ารหัสเพื่อป้องกันการแอบแก้ไขข้อมูลและกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล ทำให้ ระบบมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้คนในการบริหารจัดการข้อมูล และความปลอดภัยจากการแอบแก้ไขและแอบเอาถึงข้อมูล

9. โรงยิมสมอง ซึ่งสมองไปในวันที่มีความซับซ้อน ต้องใช้คอมพิวเตอร์นับแสนนับล้านเครื่องเพื่อจำลองการทำงานของสมองเพียงเสี้ยววินาทีแต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ ที่นำมาศึกษาได้ดีเช่นเทคโนโลยีการสร้างภาพสมอง เราอาจเคยเห็นเครื่องพวกนี้ในโรงพยาบาลเช่นเครื่อง MRI  หรือ EEG มีเซ็นเซอร์ต่างๆที่ช่วยให้อ่านข้อมูลสมองได้สะดวก

10. พิมพ์ฟังก์ชัน 3 มิติ ข้อมูล IDTechEx ระบุว่า สำหรับการพิมพ์ 3 มิติคาดว่าจะเติบโตและมีมูลค่าตลาดทั่วโลกสูงประมาณ 7 แสนล้านบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า วัสดุใหม่ๆเช่นวัสดุคอมพอสิต ช่วยให้สามารถพิมพ์วัสดุ ที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างๆได้หลากหลายขึ้น ทำให้สร้างอุปกรณ์ที่ทำงานได้เลยหลังพิมพ์เสร็จเรียกว่า Function 3D Printing

   

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า 10 เทคโนโลยีที่ต้องจับตามองในปีนี้ ส่วนใหญ่ครอบคลุมเรื่องอาหารสุขภาพและการแพทย์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการพิมพ์และการเกษตรเข้ามามีบทบาทด้วย เป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนใน การเข้าใจทิศทางและแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่เพื่อเลือกพิจารณาลงทุนให้เหมาะสม เพื่อให้ทันรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพราะเทคโนโลยีใกล้ชิดกับเราอย่างมากโดยคาดไม่ถึงในทุกมิติ