ตลาดนัดเปิด เปิดผลงานวิจัยและนวัตกรรม ครั้ง2 วิจัยขายได้



       ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และประเทศไทย 4.0 โดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการร่วมของสภานโยบายและนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการขับเคลื่อนและผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปประธรรมในเชิงพาณิชย์ และมิติต่างๆ โดยการนำร่องจัดงาน ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยพบผู้ใช้ครั้งที่ 1 เมื่อ 20 กรกฎาคม 2560 โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 4 แห่งเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อคณะรัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูงในแต่ละกระทรวงตลอดจนสถาบันองค์กรและหน่วยงานภาคเอกชนให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างหรือนำผลจากการวิจัยพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์

     ทั้งนี้ในกลุ่มผู้สร้างผลิตผลงานวิจัยและกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ให้นำเสนอผลงานวิจัยในระดับที่มีความพร้อมใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยเป็นผลิตผลที่คัดกรองวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลงานวิจัยไทย ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลงานวิจัยของหน่วยงานทั่วประเทศจำนวน 127 หน่วยงาน เพื่อขยายผลไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ เชิงชุมชน สังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมของประเทศ

ทั้งนี้งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2560 ตั้งแต่เวลา 10.00 - 18.00 น. ณ ไปรษณีย์กลาง บางรักและศูนย์สร้างสรรค์ผลงานออกแบบบางรักกรุงเทพมหานคร

ในการเปิดงานได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประจิน จั่นตอง เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมเป็นประธานในการลงนามความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตผลงานวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยพร้อมทั้งการมอบตู้อัตโนมัติเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ผลงานที่เข้าร่วม ได้แก่ งานวิจัยเพื่อความมั่นคง อาทิ ใบจักรเรือแบบแมงกานีสอลูมิเนียมบรอนซ์ โดยนาวาโทเสวียงเถื่อนบุญ กรมอู่ทหารเรือ ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกลอกลายแบบ 3 มิติ โดยดรเอกวิภูการกรสุรปราณี ผลงานวิจัยเพื่อการเกษตร มะละกอพันธุ์แขกดำเกษตร โดยผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ ไทยพงษ์ คณะเกษตรกำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน สตอเบอรี่ลูกผสมที่มีศักยภาพในการผลิตสารแอนโทไซยานิน โดยผู้ช่วย ศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ นายมงคล ศิริจันทร์ คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยนเรศวร งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมอาทิไถระเบิดดินตามแบบขาไถยกตัวได้โดยใช้ แหนบสปริงรถยนต์ โดยรองศาสตราจารย์ดรประเทืองอุตส่าห์บริสุทธิ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน เทคโนโลยีการกำจัดแมลงและไข่แมลงในข้าวสารด้วยเครื่องความถี่วิทยุ โดย รองศาสตราจารย์ดรสุชาดาเรืองศิลป์ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานวิจัยเพื่อสังคม เรือ solar cell @เกาะหมาก โดยนายสุวรรณ พิทักษ์ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช งานวิจัยเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข อาทิ องค์ประกอบทางเภสัชกรรมเพื่อรักษารอยโรคในช่องปาก โดย ศ.ดร.ทพญวรานันท์ บัวจีน ศ.คลินิกเกียรติคุณ ดร.ทพญ.ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร คณะทันตแพทย์ มหาวิทยามหิดล เป็นต้น