บจธ.เตรียมพร้อมสนองเศรษฐกิจฐานราก ดึงที่รกร้างสร้างที่ทำกิน



หลังจากเมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้มีการดำเนินโครงการนำร่อง โดยสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ.  นำร่องใน 5 ชุมชน ได้แก่ บ้านไร่ดง หมู่ที่ 3 (บ้านใหม่ป่าฝาง หมู่ที่ 15) ตำบลน้าดิบ อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน บ้านแม่อาว หมู่ที่ 3 ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดล้าพูน บ้านแพะใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดล้าพูน บ้านท่ากอม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดล้าพูน และบ้านโป่ง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านมีที่ทำกิน มีสิทธิในการครอบครองที่ดินร่วมกันภายในชุมชน เพื่อการอยู่อาศัยและท้ากินได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

แม้ บจธ. จะเข้ามาเจรจาจัดซื้อที่ดินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ เพื่อน้ามาให้เกษตรกรโดยสหกรณ์เช่าซื้อ ซึ่งแต่ละชุมชนจะจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา เกษตรกรทุกคนจึงมีสิทธิ มีความรับผิดชอบร่วมกัน แต่เป็นเพียงการเริ่มต้น ที่ บจธ.ต้องสานต่อและช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนไม่มีที่ทำกิน

ปัญหาคือ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ.  เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพียงชั่วคราว ซึ่ง พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องที่ดิน จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร บจธ. เพื่อดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดิน พ.ศ. 2554   เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี  โดยมี พลโท ชาญชัย ภู่ทอง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน และนายสถิตย์พงษ์  สุดชูเกียรติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน

โดยเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ.ได้จัดเสวนา ธนาคารที่ดินจะมีประโยชน์อย่างไรกับเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวแทนผู้เดือดร้อนเรื่องปัญหาที่ทำกินในหลายจังหวัดเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้

พลโท ชาญชัย ภู่ทองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน กล่าวบนเวทีสัมมนา ว่า ท้องถิ่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดิน อยู่ในมาตราหนึ่งของ บจธ.  ในการเสนอความคิดเห็นวันนี้เป็นการนำเสนอของผู้ปวงชน อาจจะต้องหยิบยกตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่อาจจะเห็นถึงโครงการนำร่อง 5 พื้นที่ ทั้งจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ซึ่งในปัจจุบันราคาที่ดินนั้นสูงขึ้นมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยยังไม่ออกกฎหมายลูก

 บจธ. จะเริ่มทำภาษีที่ดินจากเสีย 0.1 อาจเหลือ 0.01  ซึ่งธนาคารที่ดินจะเข้าสู่กระบวนเดินหน้าการทางกฎหมาย ต่อไป กฎหมายและกระบวนการท้องถิ่นต้องคำนึงประชาชนเป็นหลัก แต่ละหน่วยงานแบ่งแยกภาระหน้าที่ บจธ.เป็นอีกหนึ่งหน่วยที่มาเพื่อช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อนเรื่องที่ทำกิน

       ทั้งนี้ การกระจายการถือครองที่ดิน คือ 1ใน 8 เรื่องที่เลือกมา   ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญ การกระจายการถือครองที่ดินมีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดิน เหตุที่รัฐธรรมนูญกำหนดเช่นนั้น ถ้าย้อนไปถึงการขับเคลื่อนที่เป็นปัญหาอยู่ ซึ่งถ้าตอบโจทย์เรื่องนี้ วันนี้เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตอบโจทย์มุมมองของทางสังคมและความคัดแย้งได้

       เรื่องการถือครองที่ดินจะเห็นว่า 50 ตระกูลร่ำรวย ถือครองที่ดิน 90 % ของที่ดินทั้งประเทศ และ 3 %  ของที่ดินที่ถือครองถูกนำมามาใช้ประโยชน์ ที่เหลือ 97 % คือ การเก็งกำไร และถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ ตรงนี้คือโจทย์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ ซึ่งคนที่ถือครองที่ดินไว้แต่ไม่ใช้ประโยชน์   ถ้าทำตรงนี้ได้ จะตอบโจทย์พ้นการบ้านที่จากกับดักรายได้ปานกลาง  อย่างไรก็ตาม ข้อที่ควรต้องร่วมกันคิดไม่ใช่ ลำพังเพียงเครื่องมือทางธนาคารที่ดินเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ  ซึ่งถ้าวันหนึ่งธนาคารที่ดินไม่มีพลังในการตอบโจทย์นี้ได้

      รองศาสตราจารย์ นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวข้อเสนอในงานเสวนาว่า  หลังจากที่ได้ฟังการเสวนาของทุกฝ่ายในครั้งนี้พบว่าธนาคารที่ดินเป็นทางเลือกที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งจากประสบการณ์ สิ่งสำคัญ คือการบริหารจัดการที่จะเป็นภาคชุมชนในพื้นที่และเป็นการสอดรับกับหลักกับธนาคารที่ดินผมมองว่า ธนาคารที่ดินตั้งได้ไม่ยากแต่ในจุดที่ยากกว่าคือการบริหารจัดการซึ่งปัญหาและอุปสรรคนั้นมีแน่นอนการบริหารจัดการในพื้นที่ชุมชนและภาคประชาชน การประสานในทุกกลุ่ม เพื่อเป็นพลังในการแก้ปัญหาและช่วยกันได้นั้นชุมชน การจัดการที่ดินของธนาคารที่ดิน น่าจะเป็นตัวเชื่อมโยงและประสานเหล่านี้ได้

     ทั้งนี้การศึกษาโมเดลและรูปแบบของภาคประชาชนของธนาคารที่ดินเพื่อมา เป็นกระบวนการ เพื่อสร้างความมั่นใจเป็นกระบวนการการขับเคลื่อน สิ่งหนึ่งที่อยากให้รัฐบาลมองเห็นคือการนำร่องหรือรูปแบบหรือโมเดลที่ประกอบด้วยเครือข่ายของธนาคารที่ดินเพื่อประชาชนที่ประกอบด้วยกลไกของธนาคารที่ดิน นักวิชาการ ภาคี เพื่อร่วมกันนำร่อง วางเป้าหมายไปที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นตัวสอดรับเพื่อให้คล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ และนำเสนอต่อรัฐบาลให้บรรลุผลสำเร็จต่อไป

      แน่นอนว่าธนาคารที่ดินมีพลังมีที่ต้องการการขับเคลื่อนอย่างไรและเป็นประโยชน์ได้อย่างไรและให้เป็นเอกภาพ เพื่อให้เป็นหมวกใบเดียว เพื่อจุดประกายให้เกิดพลังต่อไป

     ในส่วนของกองทุนหมู่บ้านในช่วง 16 ปีที่ผ่านมากองทุนหมู่บ้านปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นมูลค่าประมาณ  2.6 แสนล้านบาท  มีกองทุนมากกว่า 79,000 กองทุนและมีสมาชิกมากกว่า 13 ล้านคน  สามารถยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนได้ 2,560 แห่ง และมีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 3 แสนล้าน

     รองศาสตราจารย์ นที กล่าวสรุปว่า ในความคิดเห็นของผมนั้น อยากทำเป็นโครงการนำร่อง ในพื้นที่ที่มีปัญหา โดยใช้กลไกของธนาคารที่ดินเป็นตัวแก้ปัญหา อาจใช้เวลาสักประมาณ  3 หรือ 6 เดือนสามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้างและสามารถดำเนินการให้เกิดความสำเร็จเกิดคำตอบให้เกิดในอนาคตได้อย่างไรมองว่าในอนาคตถ้านำปัญหาเป็นตัวตั้ง และตอบโจทย์ปัญหาขึ้นมาในการแก้ปัญหานี่คือสิ่งหนึ่งคือคำตอบในการแก้ปัญหาในอนาคตให้ประสบความสำเร็จได้ซึ่งกองทุนหมู่บ้านก็อยากเข้ามาร่วมกับธนาคารที่ดินในการใช้ภาคประชาชนมาทดลองแก้ปัญหาในเรื่องของที่ดินร่วมกันในการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนร่วมกันโดยใช้กลไกของธนาคารที่ดิน ภาคประชาชนคือเป้าหมายของธนาคารที่ดินประชาชนจากปัญหาความเดือดร้อน คำตอบแรกคือประชาชนได้อะไรจากโครงการนำร่องแต่แค่ประชาชนก็ไม่พอแต่หมายถึงอนาคตของชุมชนของประเทศซึ่งจากโมเดลครั้งนี้ได้ศึกษาเพื่อให้เกิดภาพใหญ่ในการพัฒนาระดับประเทศ หรือภาพใหญ่ในการเสนอโครงการต่อประเทศและภาพรวมของการพัฒนาประเทศได้มากยิ่งขึ้น

    นายสถิตย์พงษ์  สุดชูเกียรติ  ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน กล่าวในการเสวนา ว่า ความเอื้ออำนวยในการจัดสร้างโครงการนี้ค่อนข้างลำบาก ทั้งในเรื่องงบประมาณบุคลากร ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่บจธ.ต้องเผชิญ ทั้งนี้การตั้งเครือข่าย การประสานงาน กลุ่มต่างๆ ที่มีเสียงสะท้อนความเดือดร้อนมาทางธนาคารเป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าความต้องการในยามนี้ บจธ.ถึงต้องผลักดันให้เป็นธนาคารที่ดิน เพราะในกฎหมายเป็นเพียงการปฏิบัติชั่วคราว จำเป็นที่จะต้องตั้งเป็นธนาคารก่อน

       การที่เรามอบที่ดินเพียง1ไร่ เป็นแค่เพียงการสงเคราะห์เกษตรกรได้หัดเดินเท่านั้น ซึ่งถ้าได้ทำตามที่ท่านนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้เสนอแนะ การร่วมมือของทุกฝ่ายเพื่อเป็นหนึ่งเดียว แต่ขณะนี้เราจะทำอย่างไรให้บจธ.ได้เข้าไปเสนอรัฐบาล เพื่อให้เกิดเป็นรูปร่างอย่างแท้จริง

     ในการแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลแต่ละชุดทำมายังไม่ต่อเนื่อง  ปัจจุบันที่ผู้ที่ไร้จำนวนมาก ปัญหานี้มีมาตั้งแต่เมื่อ 55-60 ปีที่แล้ว มีเพียง 20 ล้านคนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีถึง 70ล้านคน ที่เดือดร้อน ซึ่งอะไรอะไรก็เปลี่ยนแปลงแต่กฎหมายยังเป็นแบบเก่า  ถ้าจะมองด้านเศรษฐกิจปัจจุบันเศรษฐกิจปริมาณการเสียภาษีโดยตรงประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ และ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ ไม่ได้เสียภาษีนั้นแสดงว่าเศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีรายได้เพียงพอ   ซึ่งคน 20 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้เป็นของคนรวยซึ่งคนรวยก็จะเลี้ยงคนจนในอนาคตก็จะเหลือคนรวยไม่กี่เปอร์เซ็นต์

     ประเด็นคือการเรียกร้องให้มีธนาคารที่ดินกว่า 30 ปีแต่ไม่ได้ผลซึ่งรัฐบาล บางชุดก็ให้ความสนใจ แล้วแต่นโยบายในแต่ละสมัย ทั้งนี้ถ้าคนทั้งประเทศจ่ายภาษีนั่นแสดงว่าเศรษฐกิจมีรายได้ความมั่นคงของไทยแน่นอน ถ้ากันมีธนาคารที่ดินขึ้นมาคือการแก้ปัญหาการเป็นแหล่งทุน เพื่อให้คนที่ด้อยโอกาสเดินเข้ามาหาได้มาเอาสินเชื่อ การที่เป็นธนาคาร นั่นหมายถึงความคล่องตัวที่สามารถยืนอยู่ได้ ซึ่งจากตัวเลขมีคนไร้ที่ดินประมาณ 300,000 ครอบครัว ซึ่งธนาคารที่ดินจัดหามาทำให้ทุกอย่างดีขึ้นแน่นอน

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารจัดการที่ดิน กล่าวในงานเสวนา ว่า ที่ดิน 320 ล้านไร่ มีที่เกษตร 150 ล้านไร่ เกษตรกรถือครอง 71 ล้านไร่  ส่วน 77 ล้านไร่  เป็นเนื้อที่คนอื่น ซึ่ง 77 ล้านไร่ เป็นที่เช่าผู้อื่น 29 ล้าน และเป็นการรับจำนองและรับขายฝาก 48 ล้านไร่ แสดงว่าความมั่นคงของเกษตรกร ที่ดินส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่คนทำการเกษตร ปัญหาคือ เกษตรกรจะพ้นความยากจนได้อย่างไร แม้จะหน่วยงานรัฐจะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรเป็นจำนวนมาก แต่ถามว่าเกษตรกรได้ประโยชน์แค่ไหน แต่ที่ดินในทุกวันนี้เปลี่ยนสภาพไปแล้ว ถูกขายให้กับนายทุนเป็นส่วนใหญ่

คำถามคือ ธนาคารที่ดินอยู่ตรงไหน เป็นคำตอบคือหน่วยงานทุกหน่วยที่ทำงานอยู่ในที่ดินของรัฐ เพื่อเอาที่ดินของรัฐมาจัดระเบียบให้ที่ทำกินอยู่อย่างถูกกฎหมาย ส่วนเอกชน เป็นปัญหาอยู่ ซึ่งหลังจากทำการวิจัยพบว่า  ปัญหาที่ดินเป็นสาเหตุการล่มสลายในปี 40 เพราะมีการเก็งกำไรสูงมาก  จากปี 40 มาพบว่ากลไกในเรื่องของที่ดินยังไม่คบหลายอย่าง แม้ว่าจะมี สปก.อยู่ แต่สปก.เป็นยักษ์ที่โดนมัดมืออยู่ ถ้าจะทำงานตรงไหนต้องไปประกาศเขตตรงนั้น ฉะนั้นถ้ามีธนาคารที่ดินขึ้นมาจะเหมาะไหม เพื่อมาจัดการที่ดินที่ทิ้งล้างโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือแม้จะว่ามีกองทุนฟื้นฟู แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่มาก

โดยสรุปการมีธนาคารที่ดินจะเป็นตัวเชื่อมช่องว่างต่าง ๆ ที่มีในกฎหมาย ถ้าเป็นไปได้ ธนาคารที่ดินจะเป็นองค์กรที่มาจัดการในที่ดินทิ้งร้าง หรือหลุดมือ เพื่อให้เกษตรกรมีที่ทำกิน แต่ไม่มีแรงพอจะหาที่ทำกินได้

     นายสุรพล สงฆ์รักษ์ ผู้ประสานงานสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ กล่าวในบนเวทีเสวนา ว่า ถ้าธนาคารที่ดินทำได้อย่างที่กล่าว ก็สามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่มีข้อพิพาทเรื่องที่ดินอยู่ ซึ่งที่ดินทิ้งไร้นั้นจากการวิจัยทำเกิดการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก

     นายสุรพล ยังมองว่าอย่าไปจำกัดเรื่องที่ดินให้กับเกษตรกรที่ได้ 3 ไร่หรือ 5 ไร่ ต่อครอบครัว  ซึ่งอยากให้อยู่ที่ความสามารถของแต่ละครอบครัว อย่างน้อย 15-17 ไร่ต่อครอบครัว ถึงจะอยู่รอด โดยมองว่านั่นคือเขามีกำลังพัฒนาในการผลิต

     ทั้งนี้ในการเสวนารับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องในการผลักดันให้ตั้ง “ธนาคารที่ดิน” อย่างถาวร เพื่อบริหารจัดการจัดสรรที่ดินทำกินแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ตลอดจนเป็นแหล่งทุนให้กับประชาชนไม่ให้ต้องสูญเสียที่ดินทำกิน เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ นำสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี

       ซึ่งถ้าตามโรดแม็พของรัฐบาล “ร่างพ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน”  มีกำหนดประกาศใช้ในวันที่ 8 มิถุนายน 2562 โดยจะออกมาตามหลัง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ (พ.ศ.2560) ที่จะมาแทน พ.ร.บ.  “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” พ.ศ.2475 และ พ.ร.บ. “ภาษีบำรุงท้องที่” พ.ศ.2508 เดิม ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป