ไทย-สปป.ลาว-เมียนมาร์ ร่วมเปิดท่าเทียบเรือท่องเที่ยวแห่งแรกของภาคเหนือ ขานรับกระแสท่องเที่ยวเชียงราย




     นายคงเก่ง ประชากริช ประธานบริหารบริษัทนิวเชียงแสนกรุ๊ป จำกัดกล่าวท่าเรือท่องเที่ยวแห่งแรกของภาคเหนือ การท่องเที่ยวท่าเรือเป็นที่นิยมอยู่แล้วสำหรับทางแม่น้ำโขง บริษัทนิวเชียงแสน กรุ๊ป จำกัดร่วมกับททท.เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน คณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เปิดท่าเรือท่องเที่ยวแห่งแรกของภาคเหนือ ณ.ท่าเรือเทศบาลเมืองเชียงแสน(เชียงแสนแห่งที่ 1) จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 2 ถึง 3 มีนาคม2561 โดยมีผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและแขกพิเศษร่วมงานคับคั่ง

      นายคงเก่ง ประชากิช ประธานบริหารนิวเชียงแสนกรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า  การท่องเที่ยวท่าเรือเป็นที่นิยมอยู่แล้วสำหรับทางแม่น้ำโขงถือเป็นเส้นทางเปิดใหม่สมัยก่อนเส้นทางนี้เป็นที่เลื่องลือในเรื่องของอันตรายแต่ปัจจุบันมีความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากท่าเรือขนส่งสินค้าท่าเรือท่องเที่ยววิ่งขึ้นร่องน้ำโขงแทบจะตลอดเวลาและด้วยความร่วมมือของ 4 ประเทศได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในแม่น้ำโขงเพื่อคอยดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับเรือขนส่งสินค้าและเรือท่องเที่ยวต่างๆ
 

     การเปิดท่าเรือท่องเที่ยวครั้งนี้สามารถอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้สัญจรไปมาได้มากเนื่องจากทั้งทางด้านความปลอดภัยความเป็นมาตรฐานของเรือ ซึ่งก่อสร้างออกมาอย่างถูกต้องตามแบบวิศวกรรมและการควบคุมดูแลการสัญจรไปมา
 

     อีกทั้งยังสามารถควบคุมดูแลนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทางเรือที่เข้าประเทศไทยทางอำเภอเชียงแสนจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการขนส่งสินค้า แต่หลังจากที่มีการเปิดท่าเรือแห่งนี้ตามมติครม.เพื่อเป็นท่าเรือท่องเที่ยวเริ่มมีนักท่องเที่ยวต่างๆ มาจากประเทศจีน ปัจจุบันอยู่ประมาณเดือนละ 500 คน โดยเราตั้งเป้าให้มีการใช้งานท่าเรือในช่วงปีแรกประมาณไม่น้อยกว่าเดือนละ 2,000 ซึ่งการเดินทางโดยทางรถยนต์จากประเทศไทยไปยังประเทศจีนหรือจากประเทศจีนมายังประเทศไทยปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างใช้ r3a เป็นหลัก โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง สองข้างทางก็เป็นทิวทัศน์ธรรมดาที่เห็นได้ทั่วไปในท้องถนนไม่น่าดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวเท่าไหร่ อีกทั้งยังเป็นเส้นทางถนนที่ใช้ในการขนส่งสินค้ามีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง การเปิดท่าเรือต้องเที่ยวครั้งนี้จึงเป็นการเผยให้เห็นถึงความงดงามของทรัพยากรธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำที่เพิ่มประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่สวยงามและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
 

    ทั้งนี้ ท่าเรือเชียงแสนก่อสร้างขึ้นตามนโยบายในการปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกและแก่นักท่องเที่ยวและการค้าและการลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศที่เป็นศูนย์กลางหรือประตูการพัฒนาภูมิภาคอินโดจีนรวมทั้งโครงการ พัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจึงเป็นโครงการความร่วมมือ 6 ประเทศได้แก่ประเทศไทยสาธารณประชาชนจีนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สภาพพม่ากัมพูชาและเวียดนามต่อมาคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารและประกอบการโดยได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 ตุลาคม 2546 และเมื่อมีการเปิดท่าเรือแห่งใหม่ท่าเรือนี้จึงไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ทางบริษัทนิวเชียงแสนกรุ๊ป จำกัดได้รับอนุมัติตามมติครมเมื่อ 12 ธันวาคม 2560 ให้เข้ามา บริหารจัดการจึงได้มีการปรับปรุงทางด้านการก่อสร้างภูมิทัศน์และระบบความปลอดภัยต่างๆจะได้เปิดตัวท่าเรือเทศบาลเมืองเวียงเชียงแสนอย่างเป็นทางการ