Palliative Care & Medical Cannabis in Thai Traditional Medicine การรักษาแบบประคับประคอง กับกัญชาการแพทย์ในการแพทย์แผนไทย



                                               

             เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561  ณ.ห้องประชุมชั้น ๙ อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นพ.เกียรติภูมิ วงศ์ระจิต ได้เป็นประโนในพิธีเปิดการประชุม เรื่องการรักษาแบบประคับประคอง กับกัญชากาแพทย์ในการแพทย์แผนไทย มีแพทย์และบุคลากรการแพทย์ ๒๐๐ คน จากโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคทุกสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

             ด้วย Palliative Care & Medical Cannabis in Thai Traditional Medicine หรือการรักษาแบบประคับประคอง กับกัญชากาแพทย์ในการแพทย์แผนไทย  เป็นประโยชน์ของชาติที่การแพทย์ไทได้รับจากภูมิปัญญาสั่งสมของบรรพบุรุษไทยที่ได้สร้าง สังเกต บันทึก และวิเคราะห์ ติดตามผลในการดูแลรักษาผู้ป่วยสืบทอดกันมาถึงรุ่นของเราในปัจจุบัน  โดยเฉพาะตำรับยาแผนไทยที่เข้ากัญชาซึ่งใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนเก่า ลำดับได้ถึงยุคพระบาทสมเด็จพระนารายณ์  คือโอสถพระนารายณ์ เป็นต้น  ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมไทยมีผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต หรือผู้ที่อยู่ในภาวะรักษาได้จำกัดในระบบการแพทย์แบบ conventional western medicine เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่ารวดเร็ว  ได้แก่

กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคไตวาย โรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน โรคของสมองและระบบประสาท โรคหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต เป็นต้น  ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องแวะเวียนเข้าออกโรงพยาบาลเสมอๆ กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล  หากการแพทย์แผนไทยที่มีตำรับยาเข้ากัญชาสามารถช่วยเหลือบรรเทาอาการป่วยได้ในด้านของการบรรเทาปวด การเบื่ออาหาร และการประคับประคองอาการป่วยอื่นๆได้ตามสมควร  จะยังประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น   ทั้งยังลดการสูญเสียด้านอื่นๆที่ประกอบกัน  กับทั้งขณะนี้มีงานวิจัยในการแพทย์แผนปัจจุบันว่ายาฐานชีวภาพที่ได้จากพืชสมุนไพรหลายชนิดนั้น ได้รับการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันที่ตัวยาสำคัญซึ่งได้จากพืชนั้น มีความเสถียรคงที่ มีความเข้มข้นที่ชัดเจน สามารถใช้ในการบริหารยาที่ดีขึ้นได้ อันจะยังประโยชน์ต่อพัฒนาการของการรักษาผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น

   โดยเฉพาะสารเคมีในพืชกัญชา ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารดังกล่าว และให้ชื่อว่า cannabinoids ได้แก่ THC, CBD, CBG, CBN, CBL etc.  ได้สร้างปรากฏการณ์ของการวิจัยทางคลินิกในการใช้สารดังกล่าว เพื่อการรักษาโรคต่างๆ รวมกว่า 10,000 ชิ้นในของเขตทั่วโลก  สำหรับประเทศไทยมีการใช้กัญชาในตำรับยาแผนไทยที่มีชื่อเสียงในการช่วยดูแลรักษาอาการป่วยในกลุ่มโรคผู้ป่วยที่ต้องมีการรักษาแบบประคับประคองมาช้านาน หากได้มีการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยของระบบบริการทางการแพทย์ปัจจุบันเพิ่มเติมจากที่เป็นอยู่  จะได้ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพ และยังประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว  กับทั้งถ้ามีการค้นหาโจทย์วิจัยที่ยังเป็นช่องว่างในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวอย่างไร  เราควรที่จะจัดให้มีการวิจัยและพัฒนาสืบไป 

ทั้งนี้ หวังว่าการประชุมนี้ จะส่งเสริมการร่วมมือกันในทางวิชาการและการวิจัยด้านกัญชาการแพทย์ในแพทย์แผนไทย เพื่อการรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง และอาจรวมถึงการรักษาที่สาเหตุของโรคต่อๆไปได้หากสามารถไปถึงได้   ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์งานวิชาการและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกัญชาการแพทย์ในการแพทย์แผนไทย ทั้งเป็นการเพิ่มความสามารถในด้านการแพทย์ของประเทศ อันจะยังประโยชน์สุขโดยรวมให้ประชาชนได้ทั่วกัน