นิด้าถึงพรรคการเมืองโชว์“นโยบายท่องเที่ยวไทย



สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) เชิญผู้แทนจาก 9 พรรคการเมือง ร่วมแถลงนโยบายการท่องเที่ยวไทยเพื่อพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “นโยบายท่องเที่ยวไทย…พรรคไหนปัง” ในวันจันทร์ ที่ 11 มีนาคม เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมจีระ บุญมาก ชั้น 3 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง คณบดีคณะการจัดการการท่องเที่ยว มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก

ภูมิใจไทยเล็งดันบุรีรัมย์โมเดลทั่วไทย ศาสตราจารย์ ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวต้อนรับตัวแทนจาก 9 พรรคการเมือง ซึ่งได้แก่ 1.พรรคประชาธิปัตย์ ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ,2.พรรคชาติพัฒนา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ,3.พรรคภูมิใจไทย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ,4.พรรคเสรีรวมไทย ดร.สุวัตร สิทธิหล่อ,5.พรรคอนาคตใหม่ คุณศุภรี ฉัตรกันยารัตน์,6. พรรคชาติไทยพัฒนา นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์,7.พรรคพลังประชารัฐ ผศ.ดร.ณพงศ์ นพเกตุ , 8.พรรคเพื่อไทย นายโภคิน พลกุล ,9.พรรคประชาชนปฏิรูป

ดร.นายแพทย์ มโน เมตตานันโท เลาหวณิช ศาสตราจารย์ ดร.กำพล กล่าวว่า “วันนี้เป็นอีกวันที่นิด้าทำหน้าที่ของสถาบันการศึกษา และช่วงนี้เป็นช่วงเลือกตั้ง นิด้าจึงทำหน้าที่เพื่อให้ข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยคณะจัดการการท่องเที่ยวมองว่า การท่องเที่ยวเป็นอีกส่วนที่สำคัญที่ช่วยประคองเศรษฐกิจในช่วงที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ช่วงต้มยำกุ้ง และทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้ งานวันนี้จะได้รับทราบข้อมูลและแนวนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆด้านการท่องเที่ยว เพื่อไปพิจารณา ตัดสินใจ แต่ในอนาคตไม่ว่าพรรคใดจะได้มาเป็นบริหาร ดูแลด้านการท่องเที่ยว อยากจะฝากว่า สถาบันการศึกษาเป็นมีความสำคัญ อยากให้ทุกท่านช่วยกันประสานว่า งานทุกอย่างควรจะได้รับการวิจัยที่ถูกต้องและชัดเจน อะไรดีไม่ดี ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามามาก หรือน้อย อะไรดีหรือไม่ดี ซึ่งต้องมาคุยกันถึงหลักวิชาการจริง ๆ ซึ่งคณะการจัดการการท่องเที่ยว มีความพร้อม ที่จะทำงานประสานกับภาครัฐและเอกชน และภาคการศึกษาอื่น ๆ คณะการจัดการการท่องเที่ยว ของนิด้าน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวและมหาวิทยาลัยแรกของไทยที่ได้รับการรับรองหลักสูตรระดับมาตรฐานสากลที่เรียกว่า TedQual Certification จาก องค์การการท่องเที่ยวโลก ( UNWTO: World Tourism Organization) อันเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก” รองศาสตราจารย์

ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง คณบดีคณะการจัดการการท่องเที่ยว นิด้า ดำเนินรายการและเป็นผู้เปิดคำถามซึ่งมาจากคณะการจัดการการท่องเที่ยว นิด้าและ Facebook ของคณะ จากผู้เข้าร่วมการประชุมและผู้ไลฟ์สด โดยเปิดให้อธิบายนโยบายด้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่นของแต่ละพรรคในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศไทยในอนาคต โดย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ พรรคชาติพัฒนา มุ่งพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนและกระจายรายได้ให้เสมอภาค การท่องเที่ยวจะมาตอบโจทย์ตรงนี้ได้ มีเป้าหมาย 5 ปี นักท่องเที่ยวต้องเท่ากับประชากรประเทศ และรายได้จะต้องเป็น 25% ของGDP ของประเทศ ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านท่องเที่ยว อาทิ มารีนา รถไฟความเร็วสูง ถนน ห้องน้ำสะอาด ชายหาดสะอาด ดูแลอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ปรับปรุงสินค้าโอท็อป สร้างแฮนด์เมด เดสิเนชั่นและ "ไทยแลนด์ริเวียร่า" ชายฝั่งทะเล เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ผศ.ดร.ณพงศ์ นพเกตุ จากพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคมองท้องถิ่นท้องที่ เป็นเครื่องมือกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงมุ่งเน้นท่องเที่ยวของชุมชนและท่องเที่ยวที่สร้างโดยอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยพลังประชารัฐจะไปสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ศูนย์กลางในท้องถิ่น อาทิ มหาวิทยาลัย โรงเรียน ร่วมกันทำแผนท่องเที่ยว สร้างพลังร่วมระหว่างคนในท้องที่และส่งเสริมการลงทุน เพื่อเกื้อหนุนเศรษฐกิจประเทศให้เติบโต ด้านดร.สุวัตร สิทธิหล่อ พรรคเสรีรวมไทย ชี้ว่า รายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2561 จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศกว่า 2 ล้านล้านบาท จากนักท่องเที่ยวในประเทศกว่า 1 ล้านล้านบาท จึงต้องสร้างความสมดุล เพื่อสร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ไม่ให้เสียหายจากการเกิดวิกฤตต่าง ๆ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจำนวน 38 ล้านคน ซึ่งจะทำอย่างไรให้จำนวนนักท่องเที่ยวไม่ต้องเพิ่ม แต่ทำให้เงินหรือรายได้เพิ่มขึ้นโดยไม่สูญเสียทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเสียเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

ดร.สุวัตรกล่าวว่า จำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 40 ล้านคนเพียงพอ แต่จะทำอย่างไรเพื่อสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยว จากปัจจุบันอยู่ที่ 5,400 บาทต่อหัวต่อคนและนักท่องเที่ยวเข้าพัก 9 วัน มีการใช้จ่าย 60,000-70,000 บาท เราจะเพิ่มการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวได้อย่างไร ซึ่งได้แก่ จากสินค้าและบริการ เรามีโรงแรมที่พักระดับ 5 ดาวจำนวนมากที่สามารถแข่งขันได้ ต้องแก้ไขภาพลบ สร้างจุดแข็ง สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ พรรคประชาธิปัตย์ เสนอนโยบายพรรคที่คล้ายกันว่า มุ่งแก้จน สร้างคน สร้างชาติ ในด้านการททท่องเที่ยว มุ่งเน้นกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จึงมุ่งให้จังหวัดจัดการตนเอง เลือกผู้ว่าราชการจังหวัดเอง เพราะท้องถิ่นจะเข้าใจปัญหาของตัวเอง ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เร่งผลักดันสร้าสงรถไฟฟ้า ลดราคาให้เข้าถึงได้ในกทม. ส่วนต่างจังหวัดเร่งรัดรถไฟรางคู่ มุ่งพัฒนาคน ขยายโอกาสผ่านกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาด้านท่องเที่ยวและสร้างสมดุลให้เกิดการพัฒนาสร้างคุณภาพของการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับปริมาณ ระเบียบวินัยของนักท่องเที่ยว ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ พรรคภูมิใจไทย มองว่า ต้อง1.แก้ความยากจนของประชาชนก่อน เพื่อให้มีเงินไปท่องเที่ยวได้ โดยแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เช่น แก้ปัญหาอ้อย สร้างตลาดที่สมบูรณ์ 3.แก้หนี้สินของประชาชนเพื่อให้ประชาชนไปเที่ยวให้สนุก ปรับโครงสร้างหนี้ ปลอดเวลา 5 ปีเพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรที่เป็นหนี้กยศ.มีเวลาหางาน 3.เรื่องสุขภาพ มีอสม.มาช่วยดูแล รวมถึงผู้สูงอายุ 4.กฎหมายที่เป็นอุปสรรคที่ต้องแก้ไข เช่น แกร๊บ โฮมสเตย์ ให้ทรัพย์สินมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ 5. บุรีรัมย์โมเดล ที่ประสบความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งพรรคภูมิใจไทยจะใช้ความสำเร็จของบุรีรัมย์โมเดล ไปใช้ในทุกที่ในประเทศไทย ให้มีศักยภาพแบบบุรีรัมย์