สมาคมอุตสาหกรรมการพิมพ์เตรียมจัด งานแสดงสินค้า-นวัตกรรมการพิมพ์ขั้นสูง



สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย(TSGA)เตรียมจัดงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมพิมพ์เอเชีย2019(Innovation Print Asia2019) วันที่ 28-30สิงหาคม2562 ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค  เพื่อนำเสนอ โซลูชั่นเทคนิคพิเศษและนวัตกรรมสำหรับการพิมพ์อุตสาหกรรม ผู้ให้บริการด้านการพิมพ์และนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ปูทางไทยผู้นำด้านการพิมพ์ในเออีซี คาดมีผู้สนใจเข้าร่วมงานประมาณ 5,000 คนจาก 46 ประเทศ  29% เป็นผู้บริหารระดับสูง

นายเดวิด เอ็ทคิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้จัดงานแสดงสินค้า-นิทรรศการรายใหญ่ เปิดเผยว่า  งานแสดงสินค้าInnovation Print Asia2019 จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียเพื่อตอบสนองและเป็นทางออกที่ดีให้กับเทคโนโลยีไฮบริด การพิมพ์พิเศษและเทคโนโลยีการพิมพ์หน้าที่(Functional printing) การออกแบบและการบริการสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทที่ต้องใช้งานพิมพ์นวัตกรรมโลหะและสิ่งพิมพ์หลายประเภทสำหรับโลหะพลาสติก สิ่งทอไม้แก้วและเซรามิก

โดยงานดังกล่าวนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่28-30สิงหาคม2562 ณ ฮอลล์4 อิมแพ็ค ฟอรั่ม   ซึ่งจะจัดคู่กับการแสดงสินค้าอุตสาหกรรมเซรามิกที่จัดเป็นครั้งที่4 โดยภายในงานจะได้พบกับผู้ให้บริการโซลูชั่นชั้นนำจากทั่วโลก บูธสมาคม TSGAและผู้ให้บริการด้านการพิมพ์ ตลอดจนนวัตกรรมการออกแบบและผลงานที่ได้รับรางวัล Innovation Award

นิทรรศการนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากบรรดาผู้นำอุตสาหกรรม นำเสนอนวัตกรรมโซลูชั่นการพิมพ์สำหรับยานยนต์ เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้าสำเร็จรูป อิเล็กทรอนิกส์ การขนส่ง อุตสาหกรรมการบินและการออกแบบผลิตภัณฑ์พิเศษตามมาตรฐานอุตสาหกรรม 4.0 ทั้งนี้คาดว่า จะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานประมาณ 5,000 คนจาก 46 ประเทศ  29% เป็นผู้บริหารระดับสูง

คุณประภาพร ณรงค์ฤทธิ์ นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ผู้สนับสนุนและเจ้าภาพร่วมจัดงานกล่าวว่า งานนี้เป็นการนำเสนอโซลูชั่นชั้นนำจากทั่วโลก ควบคู่กับ TSGA พาวิลเลียน อันเป็นโซนของผู้บริการด้านการพิมพ์บวกกับการออกแบบการพิมพ์พิเศษด้านอินโนเวชั่น สมาคมมั่นใจว่า งานนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถตอบโจทน์นักออกแบบและผู้ที่กำลังมองหานวัตกรรมใหม่ ๆ จึงเชิญชวนให้มางานนี้เพื่อยกระดับการพิมพ์ประเทศไทยไปสู่อาเซียนและทั่วโลกในอนาคต 

นาย พิรัช ธัมพิพิธ ประธานกรรมการการจัดงาน Innovation Print Asia2019 กล่าวว่า  อุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ดังปรากฎมีกิจการการพิมพ์บางแห่งต้องปิดตัวลงไป สมาคมฯจึงมีแนวความคิดมองหาสิ่งที่แตกต่างเพื่อให้อุตสาหกรรมการพิมพ์สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคต

ทั้งนี้อุตสาหกรรมการพิมพ์ 4.0 ไม่ได้หมายถึงการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้เพียงอย่างเดียว แต่นวัตกรรมการพิมพ์ในมุมมองของเราแบ่งได้เป็น 1.การพิมพ์แบบไฮบริด (Hibrid printing) ที่นำหลายระบบมาใช้ผสมผสานกัน  เพราะแต่ละระบบมีจุดดี จุดแข็งแตกต่างกัน  โดยพบว่า ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย บริษัทที่ใช้ไฮบริดสามารถอยู่รอดได้ มีการพลิกแพลงในการทำงานทำให้มีความน่าสนใจและสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ สิ่งที่เป็นนวัตกรรม ได้แก่ กระบวนการผลิตที่นำหลายระบบมาผสมผสานกัน การพัฒนาเครื่องจักรใหม่ ๆ ที่จะได้พบภายในงาน 2.การพิมพ์แบบพิเศษ(Special printing) คือ เทคนิคการพิมพ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ เกิดมูลค่าสูงขึ้น เช่น กราฟฟิค  การใช้ด้านการตกแต่ง 3.การพิมพ์หน้าที่ (Functional printing)เป็นสิ่งใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ใช้ในไทยมานานอาทิ การพิมพ์เพื่อความปลอดภัย ที่มีการเติบโตสูงและยังไปได้ดี เพราะเป็นสิ่งที่มีความต้องการสูง เช่น ผู้ผลิตเครื่องสำอางที่ต้องการใช้เพื่อป้องกันการปลอมแปลง  เทคนิคที่ใช้การพิมพ์ธนบัตร นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์  อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พื้นที่บนกระจกมีการพิมพ์เพื่อทำให้กระจกเป็นตัวรับสัญญาณได้ด้วย หรือการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่บอกรายละเอียดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การพิมพ์บนถุงบรรจุเลือด การพิมพ์บนผิวหนังและอื่น ๆ


"งานนี้เป็นงานแรกในไทย เป็นงานที่แตกต่าง เราพยายามเชิญผู้ประกอบการที่ทำสิ่งเหล่านี้มานำเสนอในงาน เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้แสดงนวัตกรรมของต่างประเทศ สมาคมฯมีความตั้งใจที่ทำให้งานนี้มีความน่าสนใจและทำให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยได้เห็นเทคโนโลยีต่าง ๆ ว่าต่างประเทศเขามีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้างและเราจะมีการปรับเปลี่ยน นำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างไร  โดยทางสมาคมมีเป้าหมายเพื่อทำให้ไทยเป็นผู้นำด้านการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียนหรือAEC"

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและจองพื้นที่สำหรับงานพิมพ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ที่ บริษัท Asian Exhibition Services(AES) จำกัด หรือ print@aes-exhibitions.com หรือเข้าชมเวบไซต์ www.innovationPrintAsia.com