"เมื่อโลกเผชิญโลกอุบัติใหม่ : วิจัยและนวัตกรรมเป็นคำตอบสุดท้ายที่คาดหวัง"



วันที่ 4 สิงหาคม 2563 วช. จัดการอภิปรายเรื่อง"เมื่อโลกเผชิญโลกอุบัติใหม่ : วิจัยและนวัตกรรมเป็นคำตอบสุดท้ายที่คาดหวัง"  ในงาน " มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)" ณ ห้อง World ballroom ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร การอภิปรายดังกล่าวมีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข วช.  นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ ศาสตราจารย์ ดร.สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) เป็นผู้ดำเนินรายการ


การอภิปรายดังกล่าวได้กล่าวถึง การเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีและการวิจัยมีความสำคัญอย่างมากในการแก้ไขเพื่อหาวิธีการรักษาและยับยั้งป้องกันโคโรนาไวรัส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยไทยสามารถถอดรหัสได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้สามารถทราบถึงที่มาและการยับยั้งได้อย่างรวดเร็ว ในการแพร่ระบาดในระยะแรกเกิดจากเชื้อSars – Cov 2 สายพันธุ์ T ประเทศไทยสามารถยับยั้งและแก้ปัญหาไว้ได้เพราะเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างจากที่ระบาดในจีนและอเมริกา แต่ในอนาคตหากมีการระบาดอีกครั้งเหมือนอย่างทั่วโลก นั้นคือ Sars – Cov 2 สายพันธุ์ G ที่สามารถแพร่ระบาดและกระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าการระบาดในระยะแรก นั้นเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยต้องตระหนักถึงมาตรการการรองรับ การสนับสนุนร่วมมือกันเพื่อพัฒนาหาแนวทางการรักษา การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันต่อไป