ฤกษ์ดี สทน.ติดตั้งเครื่องไซโคลตรอน ในโอกาสครบรอบ 15 ปีวันจัดตั้ง พร้อมทดลองเดินเครื่องผลิตเภสัชรังสีต้นปี 65



รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สทน.และคณะผู้บริหารเยี่ยมชมการติดตั้งเครื่องไซโคลตรอน ขนาด 30 เมกกะอิเล็กตรอนโวลล์ ถือเป็นโอกาสดีสำหรับการฉลองครบรอบ 15 ปีการจัดตั้ง สทน. และเครื่องไซโคลนตรอนนี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ผลิตเภสัชรังสีของไทย ซึ่งเริ่มดำเนินการได้ในปีหน้า 2565 นี้
จากสถานภาพปัจจุบันในประเทศด้วยปัจจัยด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วยเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) ทำให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ในประเทศจำนวนมากมีเครื่อง PET ให้บริการคนไข้ แต่การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เภสัชรังสีที่ผลิตด้วยเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอน ถึงแม้จะมีโรงพยาบาลในไทย 2-3 แห่ง ได้รับสรร งบประมาณเพื่อจัดหาเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอนขนาดเล็ก (Compact cyclotron) เพื่อผลิตสารเภสัชรังสีขึ้นใช้เองก็ตาม แต่โรงพยาบาลเหล่านั้นต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องผลิตสารเภสัชรังสีและการบำรุงรักษาซึ่งสูงมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและอาจใช้งานเครื่องไม่คุ้มค่า ขณะเดียวกันยังมีความต้องการเภสัชภัณฑ์รังสีที่ผลิตด้วยเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอนพลังงานสูงสำหรับใช้กับเครื่อง SPECT (Single Photon Emissision Computed Tomography) ซึ่งเป็นเครื่องมือวินิจฉัยพื้นฐานและทางโรงพยาบาลยังต้องนำเข้าเภสัชภัณฑ์รังสีนี้จากต่างประเทศ แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จำเป็นต้อง ในการที่ สทน. จัดตั้งโครงการศูนย์ไซโคลตรอน โดยจัดหาเครื่องที่มีขนาดพลังงานและกำลังสูงเพียงพอในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายผลิตภัณฑ์ตามความต้องการให้ทั่วถึง พร้อมทั้งวางแผนการพัฒนาไอโซโทปรังสีใหม่ๆ และจัดให้มีอุปกรณ์ประกอบรองรับงานด้านอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
หลังจากที่ สทน.ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในปี 2560 เพราะให้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร และติดตั้งเครื่องไซโคลนตรอนขนาด 30 เมกกะอิเล็กตรอนโวลล์ โดยติดตั้งเป้าผลิตไอโซโทปรังสีพร้อมอุปกรณ์สำหรับผลิตไอโซโทปรังสีใช้ในเครื่อง SPECT, ไอโซโทปรังสีใช้ในเครื่อง PET และไอโซโทปรังสีด้าน Therapy ได้แก่ I-123, I-124, Tl-201, Re-186, Cu-64, Ga-67, In-111และ Y-86 และไอโซโทปรังสีรอง C-11, N-13, O-15 และ F-18
โดยเฉพาะการผลิตไอโซโทปรังสีสำหรับเครื่อง PET และเครื่อง SPEC ได้แก่ ที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น  201TlCl ตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และ 67Ga-citrate ตรวจวินิจฉัยต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) และการอักเสบ สำหนับเครื่อง SPEC ปัจจุบันสารเภสัชรังสีทั้ง 2 ตัวนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 100% 
การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดย 201TlCl ตรวจวินิจฉัยต่อมน้ำเหลือง และการอักเสบ ด้วย 67Ga-citrateและการศึกษาโรคทางพันธุกรรม และการวัดการกระจายตัวระหว่างการรักษามะเร็ง ด้วย 64Cu-DOTATATE  สำหรับเครื่อง PET 
ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สทน.กล่าวว่า เครื่องไซโคลตรอยฃนของ สทน.เครื่องนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดินเครื่องแล้วจะทำให้ไทยมีศักยภาพในการผลิตสานเภสัชรังสี โดยเฉพาะที่สามารถใช้สำหรับการวินิจฉัยโดยเครื่อง PET และ SPECT ซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ทันสมัยและมีความแม่นยำสูง ผู้ป่วยจะได้เข้าถึงการรักษาที่ทันสมัยและทันถ่วงทีอย่างน้อย 80,000 คนในปีแรกจะเพิ่มขึ้นปีละ 10% ในเมืองประเทศไทยจะสามารถผลิตภัณฑ์สารเภสัชรังสีได้ จะสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าสารเภสัชรังสีได้มากกว่าปีละ 600 ล้านบาท ทำการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น  หลังจากนี้ สทน.จะทดลองเดินเครื่องผลิตเภสัชรังสี และพัฒนาห้องปฏิบัติการผลิตเภสัชรังสีให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งขอขึ้นทะเบียนตำหรับยากับทางองค์การอาหารและยา (อย.) และพร้อมให้บริการในเชิงพาณิชย์ในปี 2565 ต่อไป