"ปรัชญา”แนะ! อ่านหนังสือเหมือนดูหนังได้สาระไม่มีสาระ..อยู่ที่เสพ



ามถึงโปรเจ็คใหม่กับสหมงคลฟิล์ม ผู้กำกับมือฉมังยังไม่มีที่เพิ่งจบไปในตำแหน่งโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์เกริกเกียรติวีรบุรุษผู้ผดุงความเป็นธรรมเรื่อง“ขุนพันธ์” และกำลังคุยโปรเจ็คกับต่างชาติ แต่ยังไม่สรุป เพราะการทำหนังโดยเฉพาะแอ็คชั่นลงทุนสูง และที่สำคัญตัวกระตุ้นหลักคือ ต้องโดนใจตัวเองด้วย ทำให้อยู่ระหว่างเจรจาอย่างใจเย็น เพื่อให้ผลงานออกมาดีสมชื่อสมราคาที่ต่างชาติไว้ใจ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ส่วนเวลาเครียดก็อ่านหนังสือไม่ได้หามุมทำหนัง หากได้เข้าใจสังคมและมนุษย์มากขึ้น โดยปรัชญาเผยเรื่องงานและหนังสืออย่างเป็นกันเอง

                “โปรเจ็คต่างชาติมีก็เลือกอยู่คุยอยู่ เพราะมันต้องใช้เวลาแต่ถ้าน่าสนใจเราก็ทำ น่าสนใจสมมุติว่า อันดับแรกคนต่างชาติอยากให้ผมทำแอ็คชั่น แล้วผมไม่ปฏิเสธอยู่แล้ว แต่คราวนี้ไอเดียคืออะไร ไอเดียมาจากเขาหรือมาจากเรา แต่ถ้ามาจากเขามันต้องโดนใจเราด้วยถึงจะทำ และหนังแอ็คชั่นมันเป็นหนังที่ต้องใช้เงินมหาศาล เพราะฉะนั้นมันต้องใช้ขั้นตอนการเจรจา กว่าจะลงตัวมันต้องใช้เวลาต้องใจเย็นหน่อย หนังปีหน้าพี่มองว่าคนอยากได้ความสนุก ถามว่าคนอยากดูหนังแนวไหนมันดูทุกแนวนะถ้ามันอยากดู ต่อให้เป็นสารคดีก็ตาม หรือหนังว่าด้วยเรื่องรำไทย สมมุติรำไทยน่าเบื่อนะ(สมมุตินะ) แต่ถ้ามีข้อมูลทำให้คนอยากดูคนก็จะดูเพราะงั้นไปถามคนดูก็ได้ว่าอยากดูเรื่องอะไร เขาดูหมดแหละคนชอบดูหนังอยู่แล้วเพียงแต่เขาต้องเลือกมากขึ้น เพราะตอนนี้หนังมันเยอะแล้วเวลาทุกคนก็ไม่ค่อยมี แล้วก็ทุกคนไปได้ความบันเทิงจากโซเชียลเยอะมากเป็นความบันเทิงที่ฟรีด้วย เพราะงั้นมันเลยส่งผลกระทบมาถึงหนังว่าหนังมันน่าดูขนาดไหน  นิยายสามารถนำมาทำเป็นหนังได้ครับ ได้(เน้นเสียง) เพียงแต่ว่าบางเรื่องมันเก่าเกินไปอ่ะ ขณะที่หนังต้องทำใหม่อยู่ตลอดเวลา แต่เขาก็มีวิธีนะบางคนทำหนังด้วยนิยายที่เก่ามากๆ แต่เขามาเล่าด้วยรูปแบบใหม่ๆ ก็เป็นไปได้หมดครับ นิยายรุ่นใหม่สามารถขึ้นจอได้แต่ต้องทำให้เต็ม เป็นคำถามที่ดีมากเลย อย่างเทพบุตรจุฑาเทพมันเหมือนคละเคล้าอารมณ์ของคอละครจัดๆ อ่ะ คือ อารมณ์คอละครอารมณ์นี้เลย แต่ถ้าคุณจะมาอยู่ในภาพยนตร์คุณจะต้องใส่อะไรเข้าไปเหมือนกัน เพื่อความทำให้เป็น ถ้าทำไม่เป็นมันก็เน่า ถ้าเป็นก็แตกเลย
                อ่านหนังสือน้อยมาก แต่ถ้าจะทำหนังลูกทุ่ง (ลูกทุ่งซิกเนเจอร์) พี่ก็ต้องหาอ่านนิดหนึ่งเกี่ยวกับลูกทุ่งคือ ตั้งโจทย์ไว้จะหาแบบนี้ แต่จริงๆ มันเป็นการหาข้อมูลแต่ไม่ได้หาจากหนังสือ พี่มีอ่านประจำคือ “คุยกับประภาส” พี่จิก-ประภาส ชลศรานนท์ ตอนนี้เขาไม่ค่อยออกหนังสือแล้วแต่ก่อนนี้เขาออกมาหลายเล่ม เขาเขียนคอลัมภ์ในหนังสืออะไรพี่จำไม่ได้ใช้ชื่อ“คุยกับประภาส” ถามมาแล้วก็ตอบ ดีมากเลย(เน้นเสียง) มีประโยชน์มากๆ เลยแล้วนานๆ ทีเขาก็มารวมเล่ม แล้วก็ตั้งชื่อหัวหนังสือแต่ละเล่ม พออ่านแล้วได้แง่คิด แง่มุมที่เข้าใจสังคม เข้าใจมนุษย์ เข้าใจอะไรดีขึ้นเยอะเลย นำมาปรับใช้กับชีวิตเลย มันมีผลต่อชีวิตเลย ผมก็อ่านของคุณประภาสมากที่สุด เป็นหนังสือแนวปรัชญาชีวิต เขาเขียนได้สนุกมาก คือไม่เครียดเลย มันเป็นวิชาการโดยไม่รู้ตัว ฮาเลยคุณอ่านแล้วคุณจะวางไม่ลง สนุกๆ มากๆ คลายเครียดได้ ช่วงหลังแกไม่ค่อยออกหนังสือมาคือ ไม่ค่อยต่อเนื่อง ถึงเล่ม 6 เล่ม 7 แล้วมั้งผมไม่แน่ใจ  อืม ทุกคนคงรู้นะว่าการอ่านหนังสือมีประโยชน์ จริงๆผมมองการอ่านหนังสือกับการดูหนังเนี่ย มันเหมือนกันคือ บางคนบอกว่าหนังสือมีแต่สาระ หนังที่มีสาระก็เยอะ เขาบอกหนังนี่ไม่มีสาระเลย หนังสือที่ไม่มีสาระก็เยอะ คราวนี้มันอยู่ที่ตัวเราที่จะเลือกอ่าน ผมว่าโลกทุกวันนี้มันเป็นโลกของการสื่อสารนะ มันมีสื่อโรยอยู่เต็มอากาศเต็มไปหมดเลย เพราะงั้นการอ่านหนังสือก็คือสื่อชนิดหนึ่ง อันนั้นเป็นรูปแบบเก่าด้วยซ้ำที่ตีพิมพ์เป็นเล่มใช่มั้ย
แต่ผมคิดว่ามันก็อาจจะถูกตีพิมพ์ด้วยกระดาษหรือจะอยู่เป็นหนังสืออิเทคโทนิคก็ตามเนี่ย การเลือกอ่านมันอยู่ที่ตัวคน บางคนก็อ่านคุณต้องการอะไรกับมัน ก็เอาเป็นว่าหนังสือที่ดีคืออ่านแล้วสนุก แต่หนังสือที่มีคุณค่าก็คือ หนังสือที่มีสาระที่ดี